ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์ของรถยนต์ไฟฟ้านั้นมาแรงซะเหลิอเกิน ความสนใจด้านการขนส่งโดยพลังงานไฟฟ้า 100%นั้นพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆแต่ด้วยความแปลกใหม่ของนวัตกรรมอาจสร้างความสับสนอยู่ไม่น้อยเลย
ซึ่งคำถามแรกเลยก็คือรถยนต์ไฟฟ้าที่เราเห็นในท้องตลาดที่มีตัวย่อหลากหลายแบบนั้นแตกต่างกันอย่างไร?แล้วต้องเตรียมตัวอย่างไรดี? วันนี้เราสรุปง่ายๆ สั้นๆ มาให้ได้ดูกันครับ
เริ่มแรกเลยคือประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า หลักๆจะแบ่งแยกกันเป็น4 ประเภทใหญ่ๆด้วยกันซึ่งอาจจะมีที่มาของพลังงานและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน มาเริ่มกันเลย
ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า
1) รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริดหรือ Hybrid Electrical Vehicle: HEV, HEVs
แน่นอนตาชื่อ หลายคนอาจจะรู้จักกันดีในความเป็นลูกครึ่งโดยการใช้เครื่องยนต์น้ำมันเป็นเครื่องยนต์หลักสลับกับมอเตอร์ไฟฟ้าในการช่วยขับเคลื่อน แต่ก็ยังไม่สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ต้องพึ่งพลังงานจากเครื่องยนต์น้ำมันในการชาร์จไฟ
2) รถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด หรือ Plug-inHybrid Electrical Vehicle: PHEV, PHEVs
ประเภทนี้ ต่อยอดมาจาก HEV แต่ก็ยังคงใช้แหล่งพลังงานเช่นเดิมแต่แตกต่างกันตรงที่รถยนต์ประเภทนี้มีช่องเสียบชาร์จไฟฟ้าโดยตรงไปที่แบตเตอรี่ (Plug-in)แตกต่างกันตรงที่แบบข้างต้นไม่มีช่องเสียบชาร์จซึ่งตามมาด้วยปริมาณแบตเตอรี่ที่มีมากกว่า เนื่องจากต้องการพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนมากขึ้นด้วยEV Mode นั่นเอง
3) รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ หรือ BatteryElectric Vehicle: BEV, BEVs
รถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% หรือก็คือพระเอกของเรานี่เองเป็นรถยนต์ที่ไม่มีเครื่องยนต์สันดาปหรือการใช้น้ำมันอีกต่อไป จะมีแต่มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนหลักจากแบตเตอร์รี่ที่เสียบชาร์จจากตัวสถานีชาร์จหรือWall Charger ทำให้นอกจากจะไม่มีมลพิษแล้วยังมีทางเลือกของพลังงานไฟฟ้าที่หลากหลาย และถูกกว่าน้ำมันอย่างมาก
4) รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง หรือ Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV,FCEVs
รถยนต์แบบนี้ใช้พลังงานไฮโดรเจนซึ่งอยู่ในตัวถังทำปฏิกริยาเคมีกับออกซิเจนจากรอบตัวรถผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วขับเคลื่อนตัวมอเตอร์ไฟฟ้าอีกทีแต่การเข้าเติมไฮโตรเจนนั้นนับว่าลำบากอย่างมากในปัจจุบันเพราะเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่และยังไม่มีการสนับสนุนๆมากนัก
กลับมาที่รถยนต์ไฟฟ้ากับชีวิตประจำวันซึ่งการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้านั้นคือหัวใจหลักของการเดินทางอย่างแน่นอนซึ่งสเปคของรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละคันนั้นย่อมไม่เหมือนกันอยู่แล้ว
ดังนั้นสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าก็จะเข้ามามีบทบาทหลักในชีวิตกันมากขึ้นซึ่งในปัจจุบันเมืองไทยนั้นมีจุดบริการที่มากขึ้นเรื่อยๆจนไม่ยากเกินไปที่จะวางแผนใช้งานอีกต่อไปแม้จะเป็นการเดินทางไกลอย่างการไปต่างจังหวัดก็ตาม ตอนนี้จุดบริการนั้นมีให้เกือบจะทั่วประเทศแล้วทั้งในภาครัฐและเอกชน
ต่อให้รถยนต์ไฟฟ้ามีระยะที่จำกัดและต้องการการวางแผนที่มากกว่าแต่การเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันในความเป็นจริงแล้วก็สามารถเป็นเจ้าของได้เลยเพราะในหลายๆประเทศรวมทั้งประเทศไทยเองก็มีศักยภาพพร้อมเพียงพอที่จะสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าด้านเชื้อเพลิงและยังมีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง