ระวังถูกหลอก! ระยะทางของรถยนต์ไฟฟ้าใช้มาตรฐานใด?

กระแสรถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV ในปี2022 นี้มาแรงอย่างต่อเนื่องไม่มีตกจริงๆค่ายเล็กค่ายใหญ่ต่างก็มีการแข่งขันเข้ามาทำตลาดในไทยด้วยตนเองกันแล้วบางค่ายบางรุ่นถึงกับส่งมอบรถไม่ทันกันเลยทีเดียว แต่แฟนๆรู้ไหมครับว่าสเปคด้านระยะทางที่เราได้ยินกันตามสื่อบ่อยๆนั้นมีหลายมารตฐาน

แน่นอนว่าแต่ละรุ่นมีขนาดของตัวถังและขนาดแบตเตอร์รี่ที่ไม่เท่ากันแต่รู้หรือไม่ว่าตัวเลขระยะทางที่เราได้ยินนั้นอาจจะไม่เท่ากันแม้จะเป็นแบรนด์เดียวกันก็ตามเนื่องจากแต่ละประเทศนั้นใช้หน่วยวัดที่มีมาตรฐานต่างกันนั่นเอง อย่างเช่น “480กม. ตามมาตรฐาน WLTP”

ที่นี้เรามาดูกันว่าแต่ละมาตรฐานนั้นต่างกันอย่างไรดีกว่าครับเริ่มกันเลย

1) NEDC หรือ NewEuropean Driving Cycle

NEDC เป็นมาตรฐานเริ่มแรกที่ใช้ในยุโรปตั้งแต่ในยุค 70-80s แล้วโดยเป็นมาตรฐานของรถที่ใช้ในเมือง และชานเมือง แต่อาจจะไม่ค่อยแม่นยำเท่าไหร่นักต่อมาในภายหลังได้เปลี่ยนมาใช้เป็น WLTP แต่ในปัจจุบันก็ยังมีรถบางรุ่นหรือบางแบรนด์ยังคงใช้NEDC อยู่ อย่างเช่น GWM, MG และNETA เป็นต้น

2) CLTC หรือ ChinaLight-Duty Vehicle Test Cycle

คือมาตรฐานใหม่ของประเทศจีนที่อ้างอิงจากการทดสอบ NEDCอีกที รถจากแบรนด์จีนรุ่นใหม่ๆนั้นเริ่มที่จะใช้มาตรฐานนี้กันแล้วแต่ถึงแม้บอกว่าเป็นมาตรฐานใหม่ แต่ก็ยังมีความแม่นยำที่ไม่มากนัก ไม่ค่อยต่างจาก NEDCเท่าไหร่ ถ้าหากสังเกต Tesla ที่ขายในจีนซึ่งอ้างอิงCLTC จะมีตัวเลขระยะทางที่มากกว่ายุโรปและอเมริกาและจะใกล้เคียงกับตัวเลขของ NEDC

3) WLTP หรือ WorldwideHarmonized Light Vehicle Test Procedure

หลังจากที่ยุโรปเปลี่ยนจาก NEDC มาใช้WLTP ในปี 2017 มาตรฐานนี้ก็กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของสหภาพยุโรปที่มีความแม่นยำมากกว่าNEDC โดยค่าประมาณระยะการขับขี่ของ WLTP จะน้อยกว่าNEDC อยู่ราวๆประมาณ 20-30% รถยนต์แบรนด์ยุโรปอย่างVolvo, BMW, Audi หรือ Mercedes จะใช้ตัวนี้เป็นมาตรฐานการวัดระยะทาง

4) EPA หรือ EnvironmentalProtection Agency

EPA เป็นมาตรฐานวัดระยะที่ใช้ในอเมริกา ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เรียกได้ว่าโหดที่สุดในมาตรฐานทั้งหมดเลยก็ว่าได้เพราะการทดสอบแบบ EPA จะทดสอบให้ตรงกับชีวิตประจำวันมากที่สุดทั้งการวิ่งในเมืองและทางไกล ซึ่งค่าประมาณการวิ่งของ EPA นั้นจะน้อยกว่าWTLP ประมาณ 11% และรถยนต์ไฟฟ้าทุกคันในอเมริกาจะผ่านมาตรฐานนี้กันทั้งหมดครับ

แล้วไทยควรใช้มาตรฐานไหนล่ะ?

ในปัจจุบันนั้นไทยยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานการวัดระยะทางกับรถยนต์ไฟฟ้าจากภาครัฐอย่างเป็นทางการแต่จากมาตรฐานข้างต้นที่ได้กล่าวมา หน่วยที่แม่นยำที่สุดนั้นก็คือ EPAของ อเมริกานั่นเอง รองลงมาเป็น WTLP ของยุโรปส่วนNEDC ที่ไทยนิยมเอามาใช้ในปัจจุบันนั้นยังมีความแม่นยำที่น้อยที่สุดซึ่ง WTLP ถูกบังคับใช้ในยุโรปซึ่งรุ่นรถและสเปกจะใกล้เคียงกับรถไฟฟ้าที่จำหน่ายในไทยมากกว่า

ดังนั้นท่านใดที่เล็งๆรถยนต์ไฟฟ้าไว้แล้วละก็อย่าลืมเช็คว่าตัวเลขที่ท่านเห็นนั้นเป็นมาตรฐานใดนะครับเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้บริโภคเองครับ

สนใจหรือติดตั้งสถานีขาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ www.eigen.energy/th-th

Published on:
March 30, 2022
Category:
EV

Related

ประเทศไทยจะเป็นผู้นำด้านรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตได้หรือไม่?

ภูมิภาคอาเซียนถือเป็นตลาดใหม่ที่สำคัญและน่าตื่นเต้นสำหรับยานยนต์ไฟฟ้ามีการแข่งขันกันสูงมากในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคนี้ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมากเนื่องจากในภูมิภาคอาเซียนมีข้อดีคือเป็นศูนย์การผลิตที่มีต้นทุนไม่สูงแต่ยังคงคุณภาพแม้แต่รัฐบาลในประเทศอาเซียนก็ให้ความสนใจการนำเข้ารถ EVรวมถึงประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่ซื้อรถEV จากจีนมากที่สุดในอาเซียนตามด้วยอินโดนีเซียและมาเลเซีย ทำให้ไทยรั้งอันดับ 3 ในตลาดส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าของจีน