การติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านหรือ EVCharger นั้น ทางการไฟฟ้านครหลวงได้ให้คำแนะนำในการติดตั้งเบื้องต้นด้านความปลอดภัยไว้ดังนี้ครับ
1) ขนาดของมิเตอร์ไฟ
หากว่าขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าของท่านเล็กกว่า 30แอมป์ (30/100) เช่น 5 หรือ15 แอมป์ ควรแจ้งเปลี่ยนเป็นขนาดตั้งแต่ 30แอมป์ขึ้นไปได้แล้ว หรือถ้าหากเป็นมิเตอร์ 3 เฟสก็ควรใช้ขนาด15/45 เพื่อให้มีขนาดเพียงพอต่อการใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือนที่มากขึ้นแต่การคำนวณว่าควรเปลี่ยนเป็น 1 เฟส หรือ 3เฟส ก็ต้องพิจารณารุ่นของรถยนต์ไฟฟ้าและคุณสมบัติของเครื่องชาร์จด้วยว่าต้องการพลังไฟฟ้ามากแค่ไหน
2) สายไฟเมน
ขนาดของสายไฟเมนหรือสายไฟเส้นหลักที่ต่อมาจากตู้ควบคุมอย่างน้อยอาจจะควรใช้ขนาดซัก 25 ตร.มม.ซึ่งเป็นขนาดหน้าของหน้าสายนั่นเอง และตู้ MainCircuit Breaker (MCB) ควรรองรับปริมาณ 100 แอมป์
3) ตู้ควบคุมไฟฟ้า
สามารถพิจารณาดูว่ามีช่องว่างเพียงพอสำหรับติดตั้ง MiniatureCircuit Breaker หรือไม่ เพราะการติดตั้งที่ชาร์จรถ EVจะต้องแยกที่จ่ายไฟออกไปโดยเฉพาะและควรมีมากพอสำหรับรองรับกระแสไฟของเครื่องชาร์จรถยนต์ EV ได้ด้วยแต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าเป็นการติดตั้งตู้ประเภทนี้อาจจะทำช่องหรือเผื่อพื้นที่เหลือไว้เช่นถ้าหากใช้ 6 ช่อง อาจจะเผื่อพื้นที่ไว้ซัก 4ช่อง โดยการใช้ตู้แบบ 10 ช่อง
4) Residual Current Device หรือ RDC
สำหรับการตัดวงจรไฟฟ้าโดยรวมในบ้าน สำหรับการตัดวงจรในกรณีฉุกเฉินที่กระแสไฟฟ้าไหลเข้าออกไม่เท่ากันซึ่งจะทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ได้ส่วนใหญ่แล้วเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ดีควรจะมี RCD Type Bเป็นอย่างน้อย หรือตัวสายชาร์จอาจจะมีระบบตัดไฟอัตโนมัติด้วยตัวเองก็ได้
5) ตัวเต้ารับ
เต้ารับที่ชาร์จรถยนต์ EV จะไม่เหมือนเต้ารับไฟฟ้าทั่วไปที่เราใช้ในบ้านเรือนการเสียบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าควรใช้แบบ 3 ขาและใช้หลักดินแยกจากไฟฟ้าในบ้านสายต่อหลักดินรถ EV ควรเป็นสายหุ้มฉนวนมีขนาดไม่ต่ำกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร ส่วนหลักดินควรมีขนาด 16 มิลลิเมตร ยาว 2.4เมตร
6) เช็คตำแหน่งการติดตั้ง
ก่อนจะติดตั้งเต้ารับสำหรับแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าควรเช็คนำแหน่งที่จะติดตั้งว่าระยะเหมาะสมกับความยาวของชาร์จหรือไม่ ระยะส่วนใหญ่นั้นไม่ควรเกิน 5เมตร และตำแหน่งที่ติดตั้งควรอยู่ในร่มเพื่อลดความร้อนและความชื้นจากฝนถึงแม้ว่าอุปกรณ์นั้นๆจะกันน้ำได้ก็ตาม
สนใจหรือติดตั้งสถานีขาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ www.eigen.energy/th-th